วิธีควบคุมและกำจัดปลวก

ติดตั้งสถานี_1.jpg (73 KB)

ติดตั้งสถานี_3.jpg (72 KB)

ติดตั้งสถานี_5.jpg (75 KB)

วิธีวางเหยื่อล่อ

เหยื่อล่อนี้เกิดจากองค์ประกอบของเซลลูโลส(สารที่อยู่ในเนื้อไม้ที่ปลวกใช้เป็นอาหาร) ผสมกับ สารคลอร์ฟลูอาซูรอน มีฤทธิ์ทำให้ปลวกลอกคราบไม่สมบูรณ์ มีความเฉพาะเจาะจงกับปลวกที่สร้างความเสียหายให้บ้านได้แก่ คอปโตเทอเมส (Coptotermes) เมื่อปลวกงานได้รับ สารคลอร์ฟลูอาซูรอน (Chlorfluazuron) ประมาณ 0.1% w/w ที่ผสมในเหยื่อจะไม่ได้ทำให้ปลวกงานตายทันที แต่ปลวกยังสามารถนำเหยื่อกลับรังเพื่อนำไปให้ปลวกตัวอื่นๆได้กิน ปลวกที่กินอาหาร ผนังลำตัวจะขยาย จากลักษณะตัวปลวกขาวใสจะเริ่มขาวขุ่น ซึ่งปกติปลวกต้องลอกคราบทุก 15 วัน แต่ปลวกที่ได้รับสารคลอร์ฟลูอาซูรอนจะไม่สามารถสร้างคราบใหม่ได้ตามปกติ ตัวของปลวกงานเหล่านี้ก็จะเริ่มล้มตาย 

โดยปลวกงานคือกำลังหลักของรัง มีหน้าที่หาอาหารมาป้อนให้สมาชิกภายในรัง เมื่อปลวกงานตายไปเป็นจำนวนมากสมดุลในรังก็จะเสียไป ทำให้ปลวกงานที่เหลืออยู่ทำงานหนักขึ้น อายุของปลวกงานก็จะสั้นลงจนสุดท้ายเราจะพบว่าสัดส่วนของประชากรปลวกเริ่มเปลี่ยนแปลง จากปลวกงานเป็นปลวกทหาร ซึ่งเหตุผลที่เราพบปลวกทหารก่อนการกำจัดจะสิ้นสุดลงเพราะปลวกทหารตัวเต็มวัยนั้นจะไม่ลอกคราบ  ดังนั้นปลวกทหารที่โตเต็มวัยแล้วจะไม่ตายเพราะลอกคราบแต่จะตายเพราะอดอาหาร เนื่องจากไม่มีปลวกงานมาป้อนอาหารให้เพราะปลวกทหารไม่สามารถกินอาหารเองได้ ต้องให้ปลวกงานมาป้อนเท่านั้นซึ่งนั่นรวมถึงนางพญาปลวกด้วยเช่นกัน  เมื่อไม่มีปลวกงานและปลวกทหาร นางพญาปลวกก็จะตายเป็นพวกสุดท้ายในรังที่เราไม่สามารถมองเห็นได้  

การควบคุมและกำจัดปลวกมีข้อดีตรงที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด ปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยภายในอาคารและสัตว์เลี้ยง รวมถึงยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากใช้สารเคมีในปริมาณน้อยมาก อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอก็คือ ต้องหมั่นตรวจสอบพื้นที่เป็นประจำ จัดการพื้นที่ให้เรียบร้อย ไม่วางสิ่งของที่อาจเป็นอาหารปลวกทิ้งไว้ เช่น ลังกระดาษ หรือ หนังสือที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อลดปัจจัยที่จะดึงดูดปลวกเข้ามาสู่อาคารหรือบ้านให้น้อยที่สุด

3.jpg (68 KB)

4.jpg (72 KB)

VV spirit square_2.jpg (122 KB)

 

ปรึกษาปัญหา หรือนัดสำรวจสถานที่ได้ ฟรี! ติดต่อได้ที่ เบอร์ 081-881-5073